กรอ ๒ หมายถึง ก. แสดงกิริยาเลียบเคียงกันในเชิงชู้สาว มักเป็นอาการที่ผู้ชายหนุ่ม ๆ แต่งตัวแล้วชวนเพื่อนกันเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เช่น นักเลงหนุ่มหนุ่มนั้น เที่ยวกรอ. (พิธีทวาทศมาส), บางทีก็ใช้ว่า กรอผู้หญิง. ว. อาการที่ติดพันกันในเชิงชู้สาว เช่น หนุ่มคนนี้มีผู้หญิงติดกรอทีเดียว.
ก. ทําท่าเจ้าชู้ เช่น ห่มเพลาะกรูมกรอกรุยฉุยเฉิดฉัน.(มณีพิชัย).
ก. แต่งให้เรียบ เช่น กรอฟัน กรอไม้.
ว. ยากจน, เข็ญใจ, ฝืดเคือง, ในคำว่า เบียดกรอ. (ข. กฺร ว่า ยาก,ลำบาก).
น. เครื่องสานยาชัน รูปคล้ายปุ้งกี๋ แต่เล็กกว่า ใช้วิดน้ำเรือ เช่นส่วนตัวมึงคือกร้อ แต่งไว้วิดเรือ. (โคลงกวี), สามัญเรียกว่าตะกร้อ. (เทียบ ข. กฺรฬ ว่า ไห).(รูปภาพ กร้อ)
[กฺรอก] ก. เทลงในช่องแคบ เช่น กรอกหม้อ กรอกขวด, หรือใช้โดยปริยายก็ได้ เช่น พูดกรอกหู; ลงข้อความหรือจํานวนเลขเช่น กรอกบัญชี. ว. แห้งจนคลอน, ใช้แก่หมากและฝักมะขามว่า หมากกรอก มะขามกรอก.
น. ชื่อนกยางขนาดเล็กในวงศ์ Ardeidae ในประเทศไทยมี ๓ ชนิดคือ ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) หัวสีน้าตาลแดงหลังสีเทาอมดำ อกสีแดง ยางกรอกพันธุ์ชวา (A. speciosa)หัวและคอสีเหลือง หลังสีเทาอมดำ อกสีเหลือง และยางกรอกพันธุ์อินเดีย (A. grayii) หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสีน้ำตาลเหลือง กินปลา.
ว. ไม่ชุ่มชื่น, ไม่สมบูรณ์.